ทัวร์ทะเล นีโมทัวร์

เกาะสิมิลัน

หน้าแรก ทัวร์ทะเล  |   โปรแกรมทัวร์  ทัวร์กระบี่ ทัวร์เกาะสุรินทร์  ทัวร์สิมิลัน  |  ทัวร์เกาะรอก  |  ทัวร์เกาะช้าง  |  ทัวร์เกาะเต่า ทัวร์หลีเป๊ะทัวร์ตรัง  |

ประโยชน์ของปะการัง

การทำลายปะการัง

ช่วยกันอนุรักษ์แนวปะการัง

ชมภาพปะการังหลากหลาย

   หมู่เกาะกุฎี ระยอง
   
- เกาะกุฎี ก.ค.
    - เกาะกุฎี ต.ค.
    - เกาะกุฎี ก.พ.

   หมู่เกาะช้าง ตราด

   หมู่เกาะตะรุเตา
   
- เกาะหลีเป๊ะ-อาดัง1
    - เกาะหลีเป๊ะ-อาดัง2
    - เกาะหลีเป๊ะ-อาดัง3

  หมู่เกาะสุรินทร์
   
- อ่าวจาก
    - เกาะสต๊อก
    - อ่าวช่องขาด
    - เกาะมังกร
    - อ่าวผักกาด
    - อ่าวแม่ยาย
    - อ่าวสุเทพ
    - อ่าวไม้งาม
    - อ่าวเต่า

  หมู่เกาะสิมิลัน
   
- เกาะเจ็ด
    - เกาะแปด

  เกาะเต่า
   
- อ่าวหินวง
    - อ่าวแหลมเทียน
    - เกาะสันฉลาม
    - อ่าวมะม่วง

  เกาะกำ

 

ปะการัง ( Coral )

ปะการัง เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจัดอยู่ในประเภทสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ( ที่มีกระดูกสันหลังคือปลาต่างๆ ) ปะการังมีมากมายหลายชนิดมีทั้งปะการังแข็ง ปะการังอ่อน หลากสีสันและหลากหลายรูปร่างเช่นปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ด และอีกมากมาย  ประเทศไทยเรามีปะการังมากมายเพราะประเทศเราอยู่เขตร้อน  ปะการังอยู่ได้เฉพาะเขตร้อนและใกล้เขตร้อนที่อุณหภูมิของน้ำไม่ต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส  ดังนั้นประเทศในเขตหนาวจึงไม่มีปะการัง นักท่องเที่ยวต่างประเทศจึงมาเที่ยวเมืองไทยเพื่อมาดำน้ำดูปะการังสวยๆ ดูสิ่งมีชีวิตมากมายในแนวปะการัง ทะเลฝั่งอันดามันของเรามีปะการังที่สวยงามอย่างเช่นเกาะสิมิลันที่มีความสวยงามใต้น้ำติดอันดับโลก ความสวยงามใต้น้ำที่ว่านั้นก็คือปะการังนั่นเอง ปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่สำคัญ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพราะพันธุ์และวางไข่ เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำต่างๆ ดังนั้นปะการังจึงเป็นเหมือนผู้ผลิตและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล  แต่สำหรับนักท่องเที่ยวแล้วปะการังเป็นสิ่งวิเศษสุดสำหรับความสวยงามของโลกใต้ทะเล  ที่ใดมีปะการังอุดมสมบูรณ์ที่นั่นย่อมมีสิ่งมีชีวิตหลากหลาย มีปลาสวยๆ ที่มาอาศัยหลบภัยและหากินตามแนวปะการัง มีกุ้งสวยๆ ให้เราได้ชมมาเรียนรู้เรื่องปะการังกับนีโมทัวร์กันครับ

ปะการัง ( Coral ) เมื่ออยู่รวมกันในบริเวณหนึ่งเราเรียกว่าแนวปะการัง ( Reef ) ก็เหมือนกับต้นไม้แหล่ะครับ เมื่ออยู่ต้นเดียวเราเรียกต้นไม้ เมื่อมีอยู่รวมกันมากๆ เราเรียกว่าป่า  ดังนั้นแนวปะการังก็เปรียบเสมือนเป็นป่าแห่งท้องทะเล  แนวปะการังในท้องทะเลไทยมีหลายแบบคือ

1. แนวปะการังริมฝั่ง ( fringing reef )

เกิดจากสะสมหินปูนอันเกิดจากโครงสร้างของปะการังแข็งที่ทับถมกันเรื่อยมาจนก่อเกิดเป็นแนวหินปะการัง แนวปะการังริมฝั่งแบ่งเป็น 3 เขตตามลักษณะของชายฝั่งดังภาพข้างล่าง คือ บริเวณแนวราบชายฝั่งบริเวณน้ำตื้น - บริเวณแนวสันที่เป็นจุดเปลี่ยนระหว่างน้ำตื่นและน้ำลึก - บริเวณแนวลาดชันเป็นส่วนที่ลาดลงสู่ระดับน้ำลึก  ไปจนสุดเขตนอกแนวปะการัง บริเวณที่น้ำลึกมากๆ จะไม่มีปะการังทั้งนี้เนื่องจากปริมาณแสงแดดที่ส่งไปถึงพื้นมีน้อย

  

1. ปะการังบริเวณแนวราบ  เป็นส่วนที่อยู่ติดกับชายฝั่ง บริเวณใกล้ชายฝั่งมักไม่มีปะการังอยู่เลย ( หาดทราย ) เพราะเวลาน้ำลงบริเวณนี้จะโผล่พ้นน้ำเป็นเวลานานทำให้มีการเปลี่ยนอุณหภูมิมาก และยังมีอิทธิพลมาจากน้ำจืดที่ไหลออกจากชายฝั่งเวลาที่มีฝนตกลงมา ปะการังริมฝั่งจะพบมากบริเวณนอกของแนวราบใกล้แนวสันที่ห่างชายฝั่ง

2. ปะการังบริเวณแนวสัน เป็นเขตรอยต่อระหว่างแนวราบส่วนบนและแนวลาดชัน บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีปะการังชนิดต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะเด่นของที่ขึ้นอยู่บริเวณนี้คือ โขด จาน และกิ่ง

3. บริเวณแนวลาดชัน อยู่ในบริเวณน้ำลึก  เป็นส่วนที่ลาดลงสู่พื้นทะเลบริเวณนี้มีปะการังอยู่ไม่มากนัก ลักษณะของปะการังบริเวณแนวลาดชันคือปะการังกิ่ง ปะการังแผ่น ปะการังอ่อน และกัลปังหา

แนวนอกปะการัง เป็นบริเวณที่เป็นพื้นทรายมีปะการังอยู่บ้างประปรายและไม่มีปะการังเลยในระดับที่ลึก

2. กลุ่มปะการังบนพื้นทราย ( patch reef )

เป็นลักษณะของปะการังขึ้นเป็นกลุ่มอยู่บนพื้นทราย โดยที่แต่ละกลุ่มอาจเป็นปะการังชนิดโขดใหญ่และมีปะการังชนิดอื่นๆ บนโขดนั้น เป็นลักษณะของรูปแบบการเกิดของแนวปะการังในพื้นที่ซึ่งค่อนข้างจะเปิดรับแรงปะทะของคลื่นมากกว่าปะการังริมฝั่ง หรือพบบริเวณร่องน้ำระหว่างเกาะซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว ถึงแม้จะมีการสร้างหินปูนแต่ไม่มีการก่อเป็นแนวหินปะการัง ในกลุ่มปะการังบนพื้นทรายนี้จะมีความหลากหลายของชนิดสัตว์รวมทั้งปะการัง แต่ในบางพื้นที่อาจจะพบเพียงปะการังโขด หรือปะการังเขากวางเพียงอย่างเดียว


ภาพกลุ่มปะการังบนพื้นทราย

3. กลุ่มปะการังบนโขดหิน  ( coral community on rocky coast )

เป็นปะการังที่เกาะยึดติดอยู่บนโขดหินใต้น้ำ ชนิดของปะการังเป็นชนิดที่เติบโตได้ในแนวปะทะของคลื่นที่รุนแรงได้ มักเป็นปะการังที่เป็นแผ่นเคลือบบนหิน เป็นพุ่มเป็นกิ่งๆ และหนา หรือเป็นหัวขนาดเล็กยึดติดกับโขดหิน บริเวณนี้มักจะไม่มีการทับถมของซากหินปูนจนเป็นแนวปะการัง


ภาพกลุ่มปะการังบนโขดหิน

4. แหล่งกัลปังหา และปะการังอ่อน ( sea fan and soft coral community )

เป็นบริเวณที่ปะการังอ่อน กัลปังหา และ ปะการังแข็งขึ้นอยู่ประปนกัน มักจะอยู่บริเวณที่น้ำลึกตั้งแต่ 10-50 เมตร อาจเป็นเป็นโขดหินใต้น้ำ หรือบริเวณหัวแหลมที่มีกระแสน้ำไหลแรง


แหล่งกัลปังหา และปะการังอ่อน

ปะการังมีมากมายหลายชนิดกว่า 700 ชนิดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีปะการังประมาณ 350 ชนิด ชนิดของปะการังที่พบได้ง่ายและควรรู้จักมีดังนี้

1. ปะการังปลายเข็ม Needle coral ( Stylophora pistillata )

  2. ปะการังเกล็ดคว่ำ  Hood coral  ( Stylophora pistillata )

  3. ปะการังดอกกระหล่ำ Cauliflower ( Pocillopora spp. )

  4. ปะการังกิ่งไม้เล็ก  Fine branched coral ( Anacropora spp. )

 

  5. ปะการังเขากวาง  Staghorn coral, Table coral ( Acropora spp. ) พบประมาณ 40 ชนิด

  6. ปะการังผิวเกล็ดน้ำแข็ง  Fine spined coral ( Montipora spp. )

  7. ปะการังโขด หรือประการังนิ้วมือ  Mountain coral, Finger coral ( Porites spp. )

  8. ปะการังผิวยู่ยี่ Wrinkle coral ( Synaraea rus )

  9. ปะการังดอกไม้ทะเล Anemone-like coral  ( Goniopora spp. )

10. ปะการังลายกลีบดอกไม้ Petal-like coral  ( Psammocora spp. )

11. ปะการังลายดอกไม้  Flower coral ( Pavona spp. )

12. ปะการังช่องหินอ่อน  Gardiner's coral ( Gardineroseris planulata )

13. ปะการังรังผึ้ง Honey comb coral ( Coeloseris mayeri )

14. ปะการังลายลูกฟูก  Serpent coral  ( Pachyseris spp. )

15. ปะการังดอกเห็ด  Mushroom coral  ( Fungia spp. )

16. ปะการังบูมเมอแรง  Boomerang coral ( Herpolitha limax )

17. ปะการังกาแล็กซี่  Galaxy coral  ( Galaxea spp. )

18. ปะการังแผ่นเปลวไฟ หรือ ประการังดอกจอก  Lettuce coral ( Pectinia spp. )

19. ปะการังเคลือบหนาม  Spiny encrusting coral ( Echinophyllia spp. )

20. ปะการังผักกาดหอม  Lettuce coral  ( Mycedium elephantotus )

21. ปะการังถ้วยหนาม  Spiny cup coral  ( Cynarina lacymalis )

22. ปะการังสมองร่องตื้น  Shallow groove brain coral ( Australomussa rowleyensis )

23. ปะการังสมองใหญ่  Large brain coral ( Symphyllia spp. )

24. ปะการังถ้วยสมอง หรือ กรวยสมอง  Lobed cup coral  ( Lobophyllia spp. )

25. ปะการังใบร่องหนาม  Spiny cabbage coral  ( Merulina ampliata )

26. ปะการังหนามขนุน  Jack fruit spined coral  ( Hydnophora spp. )

27. ปะการังวงแหวน  Ring coral  ( Favia spp. )

28. ปะการังช่องเหลี่ยม  Larger star coral  ( Favites spp. )

29. ปะการังรังผึ้ง  Honey comb coral  ( Goniastrea spp. )

30. ปะการังสมอง  Brain coral  ( Platygyra spp. )

31. ปะการังสมองร่องเล็ก  Brain coral  ( Leptoria phrygia )

32. ปะการังสมอง Brain coral  ( Oulophyllia crispa )

33. ปะการังดาวใหญ่  Double star coral  ( Fiploastrea heliopora )

34. ปะการังดาวเล็ก  Little star coral  ( Cyphastrea spp. )

35. ปะการังช่องหนาม  Spiny coral  ( Echinopora spp. )

36. ปะการังหนวดปม  Joker coral  ( Euphyllia glabrescens )

37. ปะการังหนวดถั่ว หรือ หนวดสมอ  Bean coral  ( Euphyllia ancora )

38. ปะการังลูกโปร่งใหญ่  Rounded bubblegum coral  ( Plerogyra sinuosa )

39. ปะการังลูกโปร่งเล็ก  Tipped  bubblegum coral  ( Physogyra lichtensteini )

40. ปะการังจาน  หรือ ประการังแจกัน  Disc coral, Vase coral  ( Turbinaria spp. )

41. ปะการังถ้วยสีส้ม  Orange cup coral  ( Tubastraea coccinea )

42. ปะการังกิ่งน้ำตาลเขียว  Tree coral  ( Dendrophyllia micranthus )

43. ปะการังไฟ และ ไฮดรอยด์  Fire coral and Hydroid  ( Hydrozoa )

44. ปะการังดำ  Black coral

45. โซแอนทิด  Zoanthid

46. ดอกไม้ทะเลที่คล้ายประการัง  Corallimorph

47. ดอกไม้ทะเล  Sea anemone  พบไม่น้อยกว่า 10 ชนิด

48. ปะการังอ่อน  Soft coral พบประมาณ 18 ชนิด

49. กัลปังหา  Sea fan พบประมาณ 19 ชนิด

50. ปะการังสีน้ำเงิน   Blue coral

51. ปากกาทะเล  Sea pen

 

 

d